วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 2 ทฤษฎีเกี่ยวกับวัยรุ่น


ทฤษฎีเกี่ยวกับวัยรุ่น

1. บทนำ
ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับวัยรุ่นเพื่ออธิบายลักษณะสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ เป็นการศึกษาทางทฤษฎีดังนี้ พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ (2537 อ้างถึงใน ปิยวร กุมภิรัตน์, 2546.)
1. ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการทางเพศของซิกมันด์ ฟรอย์ (Freud) ถือว่าวัยรุ่นเป็นวันที่อยู่ในช่วง Genital stage หรือระยะของการบรรลุวุฒิภาวะทางเพศนั้น ฟรอยด์ กล่าวว่า วัยรุ่นไม่สามารถเก็บความรู้สึกทางเพศไว้ได้ เนื่องจากมีแรงขับดันทางเพศมากขึ้น จึงมักมีการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองในช่วงอายุ 13-15 ปีมากที่สุด ในระยะวัยรุ่นต้นจะมีความสนใจทางเพศเดียวกัน คือช่วง Homosexual Stage คือเริ่มหาความพึงพอใจเพศตรงข้ามเริ่มมีการติดต่อกับเพศตรงข้าม เนื่องจากวัยนี้จะมีความอิสระจากบิดา มารดา ดังนั้นจึงสามารถสร้างสัมพันธภาพกับเพศตรงข้ามได้ดีขึ้น
2. ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการของอิริคสัน (Erikson) วัยรุ่นอยู่ในพัฒนาการขั้นที่ 5 คือ การสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง ภาวะวิกฤติของวัยรุ่นเกิดขึ้นจากความสับสนในบทบาทและความเป็นบุคคลของตนเองมีการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะสืบพันธ์อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงของร่างกายทำให้วัยรุ่นก้าวไปสู่การเป็นผู้ใหญ่ สิ่งสำคัญที่วัยรุ่นค้นหาเอกลักษณ์ของตนเอง ก็คือการตัดสินใจในความสำเร็จของชีวิต วัยรุ่นมักนิยมชมชอบคนที่มีความสามารถหรือดาราภาพยนตร์เพื่อสู่การสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง
Mischel ได้สรุปผลการศึกษาว่า การเปลี่ยนแปลงของร่างกายและฮอร์โมนทำให้วัยรุ่นเกิดการเรียนรู้พฤติกรรมทางเพศในสังคม ความมุ่งหวังของสังคมจะเป็นตัวผลักดันให้วัยรุ่นมีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จในชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม สังคม บิดามารดา และเพื่อนจะยังคงมีอิทธิพลอย่างมากต่อวัยรุ่น
Hurist นักจิตวิทยาที่ศึกษาถึงพันธกิจของวัยรุ่นว่ามี 8 ขั้นตอน
1. วัยรุ่นจะต้องมีความสำเร็จในการเข้ากลุ่มเพื่อนวัยเดียวกัน ทั้งที่เป็นเพื่อนเพสเดียวกันหรือเพื่อนต่างเพศ
2. รับรู้บทบาททางสังคมของผู้ใหญ่ทั้งชายหญิง
3. ยอมรับรูปร่างหน้าตาของตนเองและใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
4. มีความอิสระในตนเอง และรับฟังเหตุผลของบิดามารดา ผู้ปกครอง
5. เตรียมตัวเพื่อชีวิตต่างงาน และการครองเรือนที่ดี
6. เตรียมตัวและรู้จักการเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง
7. การสร้างค่านิยมและศีลธรรมจรรยา เพื่อเป็นหลักในการดำรงชีวิต
8. มีความต้องการที่จะรับรู้ถึงความรับผิดชอบต่อสังคม



2. พัฒนาการทางร่างกายและกายวิภาค
ในระยะต้นของวัยรุ่น จะเป็นระยะที่มีพัฒนาการทางร่างกายอย่างรวดเร็วมาก และมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางความเจริญงอกงามด้านอื่น ๆ ให้ประสานตามไปด้วย เช่น พัฒนาการด้านอารมณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่วัยรุ่นแสดงออกมา เป็นต้น
พัฒนาการทางร่างกาย ในระยะนี้นับว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะของเด็ก มาเป็นลักษณะของผู้ใหญ่โดยเราเรียกว่า วัยหนุ่มสาว

3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของวัยรุ่นในระยะต่าง ๆ
3.1 วัยอย่างเข้าสู่วัยรุ่น (Puberty) คือ ช่วงอายุตั้งแต่ 11 ถึง 12 ถึง 13 ถึง 14 เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มมีการเจริญเติบโตทางเพศอย่างสมบูรณ์ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชาย สำหรับเด็กหญิงนั้นสิ่งที่แสดงเห็นถึงความเจริญของร่างกายเต็มที่ คือ การมีประจำเดือนครั้งแรก ส่วนเด็กชายนั้น ไม่มีลักษณะบ่งชัดเช่นเด็กหญิง แต่เราอาจสังเกตได้จากสิ่งเหล่านี้คือ การหลั่งของอสุจิในครั้งแรก การมีขนขึ้นตามอวัยวะเพศ นอกจากนี้น้ำเสียงที่พูดยังเปลี่ยนไปจากเดิม คือ ห้วนขึ้น และมีลักษณะที่เรียกว่าแตกพาน เด็กหญิงนอกจากมีประจำเดือนครั้งแรกแล้ว ปรากฏว่าสัดส่วนต่างๆ ของร่างกายยังเปลี่ยนแปลงทางด้านอวัยวะเพศและการเจริญเติบโตของทรวงอก เนื่องจากผลของฮอร์โมนไปบำรุงมากขึ้นในระยะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นนี้ เป็นระยะที่เตือนให้เราเห็นว่า ระยะของวัยรุ่นได้ใกล้เข้ามาแล้ว ซึ่งระยะอย่างเข้าสู่วัยรุ่นนี้ ยังแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ
3.1.1. ระยะก่อนวัยเข้าสู่วัยรุ่นจะมีอายุประมาณ 10-11 ปี หรือ 12 ปีเด็ก ๆ จะมีความเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทางร่างกาย เป็นการปรับตัวให้พร้อมที่จะย่างเข้าสู่วัยรุ่นในช่วงของวัยก่อนรุ่นนี้ ถ้าเด็กคนใดมีลักษณะของความเจริญเติบโตที่รวดเร็วก็จะย่างเข้าสู่วัยรุ่นเร็ว ในช่วงระหว่างอายุ 9 ปีเด็ก ๆ จะเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ อยู่ประมาณ 1 ปี พออายุ 10 ปีเป็นต้นไป เด็กบางคนจะเริ่มเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้นอาจทำให้เด็กเองรู้สึกตกใจหรือกังวลได้
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ๆ ก็เกิดขึ้นด้วย เช่น แขนขายาวมือเท้าใหญ่รวมทั้งลักษณะของประจำเดือนค่อย ๆ เริ่มปรากฏขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งระยะนี้การเปลี่ยนแปลงลักษณะประจำเพศภายนอกเริ่มปรากฏ ได้แก่ การขึ้นของหนวดเคราในเพศชาย และการขยายตัวของหน้าอกและสะโพกในเพศหญิง ความเจริญของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมักไม่สัมพันธ์กันนัก
เด็กชายและเด็กหญิงในวัยก่อนวัยรุ่นจะแตกต่างกันในเรื่องความเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างเห็นได้ชัด เด็กหญิงจะมีน้ำหนักและส่วนสูงมากกว่าเด็กชายวัยเดียวกัน ลักษณะประจำเพศก็เริ่มปรากฏขึ้นในเด็กหญิงก่อนเด็กชาย บางครั้งจึงทำให้เด็กหญิงมีความวิตกกังวลใจและปรับตัวเข้าหาเพื่อนชายในห้องเรียนเดียวกันยาก อันเป็นเหตุหนึ่งซึ่งทำให้เด็กวัยนี้ชอบแยกเพศเล่น สนใจเพื่อนเพศเดียวกันมากกว่า และไม่สนใจเพื่อนต่างเพศ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเด็กหญิงไม่สนใจเรื่องเพศทั่วไป เพราะเด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศมากขึ้นและมักมีคำถามหรือปัญหาทางเพศมากขึ้นและมักมีคำถามหรือปัญหาทางเพศมาถามผู้ใหญ่หรือครูอยู่เสมอ
3.1.2. ระยะเข้าสู่วัยรุ่น ระยะนี้เซลล์สืบพันธุ์สร้างขึ้นในอวัยวะเพศ (Sex Organ) ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ในเพศหญิงขณะที่เด็กหญิงเจริญเติบโตย่างเข้าสู่วัยรุ่น เซลล์เพศหญิงหรือรังไข่ซึ่งมีไข่อยู่นับเป็นจำนวนพัน ๆ ฟองนั้น ก็จะถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนจากต่อม Pituitary เป็นผลให้เซลล์หญิงหรือไข่พร้อมที่จะสืบพันธุ์ได้ฟองแรก ปกติไข่จะหลุดลอยออกจากรังไข่ เดือนละ 1 ฟองจากรังไข่ซ้ายและขวาข้างละเดือนสลับกัน ไข่ที่สุกแล้วมีขนาดเล็กมาก มีรูปร่างเกือบกลมขานาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1 มิลลิเมตร ภายในของไข่ที่สุกแล้วประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ 1 อัน ซึ่งมีหน้าที่เก็บอาหาร ภายในปีกมดลูกมีขนละเอียดอยู่ทำหน้าที่ช่วยพัดพาเอาไข่ให้เคลื่อนที่ไปตามท่อนำไข่สู่มดลูกได้ ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสมพันธ์กับอสุจิจากเพศชายก็จะสลายตัวไปในปีกมดลูกการเตรียมการต่าง ๆ ของผนังมดลูกเพื่อรอรับไข่ก็หยุดชะงักลงผันเป็นผลทำให้เกิดมีโลหิตประจำเดือนไหลออกมาจากมดลูกในระยะต่อมา ส่วนในเพศชายขณะที่เด็กชายกำลังเจริญเติบโตย่างเข้าสู่วัยรุ่น เซลล์เพศชายจะเจริญเติบโตในขณะเดียวกันต่อมอัณฑะ ซึ่งหลอดเล็กและละเอียดเป็นจำนวนมากสำหรับผลิตเซลล์เพศเพิ่มมากขึ้น ก็ถูกกระตุ้นโดยฮอร์โมนจาก Pituitary ให้ผลิตเซลล์เพิ่มมากขึ้น เซลล์เพศชายนั้นมีขนาดเล็กมากต้องมองด้วยกล้องจุลทรรศน์จึงเห็นรูปร่างลักษณะคล้ายลูกอ๊อดซึ่งมีส่วนหัวโต และส่วนหางยางเรียนลำตัวมีขนาดยาวประมาณ 0.05 ม.ม สามารถแหวกว่ายไปมาได้ด้วยส่วนหาง แต่ทั้งเพศหญิงและเพศชายการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะย่างเข้าสู่วัยรุ่นนี้ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และการพัฒนาก็ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่เช่นกันซึ่งธรรมชาติจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนสมบูรณ์จนเข้าสู่วัยรุ่น
3.2 วัยรุ่นตอนต้น คือช่วงตั้งแต่อายุ 13-17 ปี ระยะนี้พัฒนาการของร่างกายต่อเนื่องมาจากวัยย่างเข้าสู่วัยรุ่น ทั้งส่วนสูง น้ำหนัก และลักษณะทางเพศภายนอกของร่างกายและการเคลื่อนไหวการเจริญเติบโตทางกายจะเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก วัยนี้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเจริญขึ้นทุกส่วนเช่น แขนขายาว มือเท้าใหญ่ ตะโพก อก ไหล่กว้างขึ้นมีพานขึ้นที่หน้าอก แต่ถึงแม้ทุกส่วนในร่างกายเจริญขึ้น ทว่าสัดส่วนในการเจริญเติบโตจะแตกต่างกันไป ไม่เติบโตโดยสัมพันธ์กันทำให้อวัยวะบางส่วนเกะกะ การเคลื่อนไหวร่างกายแก้งก้างผิดพลาดบ่อย นอกจากนั้นวัยรุ่นยังมีกลิ่นตัวแรงและฉุนเนื่องจากรูตามผิวหนังมีมาก ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่เริ่มมีสิวทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย
นอกจากอวัยวะของร่างกายจะเจริญเพิ่มขึ้นทั้งทางด้านขนาดส่วนสูงและน้ำหนักตัวแล้วยังมีการเจริญเกี่ยวกับลักษณะเพศขั้นที่สองออกมาอย่างเห็นได้ชัด คือเด็กชายและเด็กหญิงจะมีการเจริญที่เป็นไปตามเพศของตน เช่น เด็กชายเริ่มมีเสียงห้าวใหญ่ ไหล่กว้าง กล้ามเนื้อเป็นมัดมีหนวดเครา และมีขนในที่ลับและรักแร้ ส่วนเด็กหญิงจะมีเสียงแหลมเล็ก สะโพกผาย ทรวงอกขยาย เอวคอดเล็ก เป็นต้น
3.3 วันรุ่นตอนปลาย เป็นวัยรุ่นที่อายุตั้งแต่ 16 หรือ 17 ถึง 19 ถึง 20 ในระยะนี้พัฒนาการทางร่างกายเจริญถึงระดับวุฒิภาวะสูงสุดทั้งในเพศหญิงและเพศชาย แต่เพศชายบางคนมีพัฒนาการต่อไปจนถึงอายุ 21-22 ปี ช่วงวัยรุ่นตอนปลายนี้ เด็กชายและเด็กหญิงจะเริ่มโตทันกันหลังจากที่เด็กหญิงมีวุฒิภาวะล้ำหน้ากว่าเด็กชายประมาณ 1-2 ปี ในวันเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ช่วงวัยรุ่นตอนปลายเป็นช่วงที่อวัยวะสืบพันธ์และต่อมเพศหญิงเจริญเต็มที่ในเพศหญิง หน้าอกและสะโพกจะขยายเต็มที่แบบผู้ใหญ่ สำหรับเพศชาย อวัยวะเพศและต่อมเพศเจริญเต็มที่เช่นเดียวกัน มีการหลั่งอสุจิมากขึ้นกว่าช่วยวัยรุ่นตอนต้นแม้ยามนอนก็มีการฝันเปียก ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการที่เกิดตามธรรมชาติ เพื่อผ่อนคลายความกดดันของร่างกายที่ได้ผลิตอสุจิออกมา นอกจากนี้ หนวด เครา เห็นได้ชัดเจนในช่วงนี้ และทั้งเพศมักมีพฤติกรรมในการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะเพศชายจะมีมากกว่าเพศหญิง

4. พัฒนาการทางด้านอารมณ์
อารมณ์เป็นความรู้สึกหรือความสะเทือนในที่ร่างกายถูกสิ่งเร้าอื่นมาเร้า คนเรานั้นมักมีอารมณ์เกิดขึ้นเสมอทุก ๆ นาที อารมณ์ของวัยรุ่นนั้นเป็นอารมณ์ที่รุนแรง โดยที่เราเรียกวัยนี้ว่าเป็นวันพายุบุแคม ซึ่งหมายถึง การที่มีอารมณ์เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง ในบางครั้งมักมีความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ การที่เกิดอารมณ์ง่ายและรุนแรงเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องง่ายต่อการยุแหย่หรือชักนำให้เด็กเกิดความรู้สึกอยากลองดี ทั้งในทางที่ดีและทางที่เลว ความคิดชั่ววูบของอารมณ์วัยรุ่นอาจเป็นสิ่งทีทำให้เขาแสดงพฤติกรรมผิด ๆ ออกมา ซึ่งอาจหมายถึงชีวิตและอนาคตของเขาเอง

4.1 อารมณ์ของวัยรุ่นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
4.1.1 ประเภทก้าวร้าวรุนแรง เช่น อารมณ์โกรธ อิจฉา เกลียดชัง
4.1.2 ประเภทเก็บกดเอาไว้ เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าใจ กระอักกระอวลใจ สลดหดหู่ ขยะแขยง เสียใจ อารมณ์ประเภทนี้เป็นอันตรายต่อวัยรุ่นมากที่สุด
4.1.3 อารมณ์สนุก เช่น ความรัก ชอบ สุขสบาย พอใจ ตื่นเต้น
เนื่องจากอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ มีทั้งประโยชน์และโทษต่อบุคคลทั้งสิ้น และอารมณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่คงที่แน่นอน ยากกว่าการติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น ดังนั้นจึงสมควรจะได้ศึกษาและรู้จักอารมณ์ต่าง ๆ ของวัยรุ่นบ้างพอสมควร

5. อารมณ์ต่าง ๆ ของวัยรุ่น
อารมณ์ต่าง ๆ ของวัยรุ่นที่ควรทราบดังนี้
5.1 ความกลัว เป็นอารมณ์ที่มีอยู่ในทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความปลอดภัย ความกลัวของวัยรุ่นนั้นส่วนใหญ่มักเป็นความกลัวเกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม เช่น เด็กชายบางคนกลัวที่จะต้องพูดจากับเด็กหญิงตามลำพังหรืออาจเป็นความกลัวที่คิดว่าจะไม่ได้รับการยกย่องจากสังคม โดยจะทำให้เด็กคอยระมัดระวังพฤติกรรมจนบางทีไม่เป็นตัวของตัวเองความกลัวอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของเด็กวัยรุ่นคือ การกลัวเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะและความไม่สมประกอบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งนอกจากทำให้เกิดความกลัวแล้วยังทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดอีกด้วย
5.2 ความกังวงใจ เป็นผลมาจากความกลัว โดยกลัวเรื่องต่าง ๆ แล้วเก็บเอาเรื่องเหล่านั้นมาเป็นความวิตกกังวลใจ ความกังวลใจเกิดจากการนึกคิดและทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต น่าจะเป็นไปในทางที่ไม่ดี ซึ่งบางทีสิ่งนั้นอาจจะเกิดขึ้นหรือบางทีอาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ เช่น เกี่ยวกับการสอบ เขามักกลัวกังวลว่าจะทำข้อสองไม่ได้ ทำให้ไม่สบายใจ บางทีถึงกับไม่เป็นอันหลับอันนอนจนกว่าจะได้ทำการสอบผ่านพ้นไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องบุคคลภายในบ้าน เรื่องความสัมพันธ์ทางสังคมและกังวลใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตนเองเป็นต้น
5.3 ความโกรธ เป็นการแสดงออกของอารมณ์ประเภทก้าวร้าวและรุนแรง ประเภทเดียวกับความอิจฉาริษยาและความเกลียดชัง โดยจะแสดงออกให้เห็นหลายอย่างทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นต้นว่า มือเท้าสั่น หน้าตาแดงก่ำ หายใจถี่ หุนหันพลันแล่น ขาดความยั้งคิด อาจจะแสดงออกมาในรูปของทำร้ายให้ผู้อื่นบาดเจ็บ หรืออาจทำร้ายตนเอง ทำลายข้างของที่อยู่ใกล้าตัว บางทีก็ร้องไห้กระทืบเท้า ส่งเสียงดัง หรือบางทีแสดงออกทางอ้อม โดยเก็บตัวเงียบอยู่คนเดียวและไม่ยอมพูดจากกับใคร
5.4 ความรัก ความรักเป็นอารมณ์ประเภทที่เกิดขึ้นกับทุกคน ทุกเพศทุกวัย ในวัยรุ่นมีความรักประเภทใหญ่ดังนี้
5.4.1 ความรักตนเอง ได้แก่ความรักและดูแลเอาใจใส่สภาพความเป็นไปของร่างกายตนเอง เช่น ทรวดทรง ความสวยงามของใบหน้า การเลือกเครื่องแต่งกาย เป็นต้น
5.4.2 ความรักเพื่อน ปกติวัยรุ่นจะให้ความรักและสนิทสนมกับเพื่อนเพสเดียวกันจำนวนมาก ๆ โดยตั้งเป็นแก๊งในพวกที่มีลักษณะนิสัยใจคอรสนิยมเดียวกับตนและในที่สุดก็จะหาเพื่อนสนิทคู่หูมาอยู่ใกล้ชิดกัน ไปไหนไปด้วยกัน พยายามไปกินนอนด้วยกัน เพื่อให้เกิดความสนิทสนมมากยิ่งขึ้น และเอาไว้ปรึกษาหารือปัญหาต่าง ๆ ของตน
5.4.3 ความรักที่ตนเทิดทูนบูชาเป็นพิเศษ ตามปกติวัยรุ่นมักจะรักคนเก่ง คนมีความสามารถพิเศษทางใดทางหนึ่ง และเทิดทูนบูชาอยากเอาแบบอย่างโดยยึดถือเป็นแนวทางที่จะปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองในอนาคต
5.4.4 ความรักในเพศตรงข้าม ในวัยรุ่นปัญหาเรื่องเพศตรงข้ามมักเข้ไปแทรกแซงในจิตใจอยู่เสมอ ซึ่งก่อให้เกิดความรักแบบวัยรุ่นขึ้น ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่พยายามทำตนให้เป็นจุดเด่นและความรักของวัยรุ่นต่อเพื่อนต่างเพศเป็นไปอย่างรุนแรงและหลงใหล ใฝ่ฝันอย่างทุ่มเทซึ่งอาจมีผลกระทบกระเทือนต่อชีวิตและอนาคตของวัยรุ่นได้มาก เช่น ในเด็กชายที่มีความคิดรุนแรง ถ้าพลาดหวังจากหญิงที่ตนรักมักแสดงออกรุนแรงของอารมณ์ออกมา ในเด็กหญิงการปล่อยตัวปล่อยใจง่าย ๆ มักนำผลเสียมาให้ โดยอาจคิดสั้น หรือเก็บเอาไปคิดมากทำให้เสียการเรียนอย่างมาก
5.5 ความอิจฉาริษยา มักเกิดขึ้นเมื่อตนไม่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยวิธีอื่น หรือถูกแย่งชิงเอาความรักไป อารมณ์ริษยานี้อาจแสดงออกมาในรูปของความโกรธอย่างรุนแรง และไม่มีเหตุผลได้โดยเฉพาะวัยรุ่น สาเหตุของความอิจฉาริษยานี้มักเกิดกับปัญหาเกี่ยวกับเพื่อนต่างเพศ เช่น ในเด็กหญิงจะเกิดความอิจฉาริษยาขึ้นทันทีเมื่อพบว่าเพื่อนชายของตนไปคุยกับหญิงอื่นหรือในเด็กชายมักอิจฉาริษยาเพื่อนฝูงของตน เมื่อผู้หญิงที่ตนให้ความสนใจยกย่องบูชากลับพูดคุยกับคนอื่นอย่างสนุกสนาน ซึ่งในบางครั้งวัยรุ่นไม่สามารถยับยั้งอารมณ์ก็อาจก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทได้

5.6 พัฒนาการทางสติปัญญา
ในเด็กวัยรุ่นเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายทางร่างกายทำให้วัยรุ่นมีพลังงานมากมีความกระตือรือร้นและความสามารถต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทำให้วัยรุ่นรู้จักใช้ความคิดพิจารณาเหตุผลต่าง ๆ สามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับคนอื่น รู้จักพิจารณาตนเองและสังเกตว่าคนอื่นเขามีความรู้สึกต่อเราอย่างไร ทั้งพยายามปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองให้เป็นไปทางที่สังคมยอมรับโดยจะพยายามเอาแบบอย่างจากบุคคลหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ตนเห็นว่าดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะได้มาจากคนใกล้ชิด ภาพยนตร์ หนังสืออ่านเล่น เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเด็กในวัยนี้จะชอบส่องกระจกดุตัวเองอยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงบุคลิกภาพและท่าทางให้เป็นไปตามแบบที่ต้องการ
สำหรับการรู้จักตนเอง คือ การพยายามดูตัวเองและวิจารณ์ตนเองแต่ไม่บ่อยนัก บางครั้งยอมรับความเกียจคร้านของตนและพยายามเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นและปรับปรุงตัวเองความให้ได้สมดุล
พัฒนาการทางด้านสติปัญญาในวัยรุ่นตอนต้น พัฒนาการเป็นไปอย่างรวดเร็วมากและเจริญถึงขีดสุดเมื่ออายุประมาณ 16 ปี แล้วค่อย ๆ ลดลงหลังจากอายุ 19-20 ปี

5.7 ลักษณะพัฒนาการทางสติปัญญาของวัยรุ่น
5.7.1 ความจำดีมาก แต่มักไม่ค่อยใช้ความจำของตนเอง ให้เป็นประโยชน์ เนื่องจากต้องการใช้ความคิดในการแสดงความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ ที่กว้างขวาง โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของสังคม ในวัยนี้จะพยายามคิดตัดสินว่าสิ่งใดที่ดีกว่า สิ่งใดที่ควรจะเป็นและควรเกิดขึ้นกับสังคม
5.7.2 มีสมาธิดี โดยเฉพาะเรื่องที่ตนสนใจเป็นพิเศษก็จะมีสมาธิในการศึกษาค้นคว้าและพยายามค้นหาความจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้น โดยไม่ยอมท้อถอยง่าย ๆ และมีความสามารถในการตั้งสมาธิควบคุมอารมณ์ของตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
5.7.3 มีความคิดเจริญ กว้างขวางไปไกล พยายามแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มพุนความสามารถของตัวเริ่มเข้าใจในความสวยงาม ความไพเราะ ความเจริญในด้านนี้จะค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการเร่งเร้าให้เกิดกับวัยใดวัยหนึ่ง
5.7.4 มีจินตนาการมาก มักชอบนั่งคิดเพ้อฝันสร้างวิมานในอากาศอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน ๆ การฝันกลางวันของวัยรุ่นนี้มักเกี่ยวกับเรื่องเพื่อนต่างเพศ ความรัก และเรื่องเกี่ยวกับการประสบผลสำเร็จในชีวิตในอนาคตของตนเอง โดยอยากเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แล้วแต่ใจของตนปรารถนา ความนึกฝันดังกล่าวนี้ถ้าไม่ได้รับคำแนะนำให้กระทำถูกทางแล้ว หรือเพิกเฉยก็จะทำให้วัยรุ่นเกิดความฉลาดไม่กล้าเผชิญกับอุปสรรคในชีวิตและก่อให้เกิดความชิงชัดสังคมแต่ถ้าได้รับการแนะนำและสนับสนุนให้มีโอกาสทำกิจกรรมคู่กันแล้ว ก็จะเป็นการส่งเสริมการสร้างบุคลิกภาพให้ดียิ่งขึ้น
5.7.5 ความเชื่อมั่นต่าง ๆ เป็นไปอย่างรุนแรงโดยเมื่อปักใจเชื่ออะไรแล้ว มักเชื่ออย่างจริงจังและถ้าไม่ยอมเชื่ออะไรแล้วก็ยากที่จะทำให้เชื่ออะไรได้ง่าย ๆ นอกจากมีหลักฐานมาอ้างอิง ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับว่ามีทั้งประโยชน์และโทษ เพราะถ้าเด็กวัยรุ่นเชื่อมั่นไปในสิ่งที่ดีย่อมก่อประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ถ้าไปหลงเชื่อมั่นในสิ่งที่ผิดแล้วอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นจะเห็นว่าวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มก่ออาชญากรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจกลายเป็นอาชาญกรรมต่อไป

5.8 พัฒนาการทางสังคม
เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่น นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ทางร่างกายและจิตใจแล้ว เรายังพบว่า เด็กยังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองเกี่ยวกับสถานะความเป็นอยู่ภายในครอบครัวด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเด็กในวัยนี้ต้องการเป็นอิสระ และต้องการเป็นตัวของตัวเองชอบอยู่ตามลำพังมีห้องเป็นสัดส่วน มีของใช้ส่วนตัว ซึ่งถ้าเราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงอันนี้เราอาจจะช่วยเหลือเด็กได้ด้วยการจัดหาห้องส่วนตัวให้เขาอยู่ตามลำพัง และใช้ความคิดของตนอย่างอิสระ ซึ่งจะช่วยได้มากในการปรับตัวเข้ากับสังคมของเขาในโอกาสต่อไป
ในวันรุ่นนี้เด็กกำลังมีความต้องการอย่างรุนแรงในการที่จะทำตนเองให้เป็นที่ยอมรับนับถือของเพื่อนและบุคคลในสังคม โดยจะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างสุดความสามารถ เพื่อจะให้ได้มาซึ่งสถานะดังกล่าว โดยเราสามารถสังเกตได้จาก
- การแต่งตัว พิถีพิถันเป็นพิเศษ
- เอาใจใส่ในกิริยาของตนเองและบุคคลในครอบครัว
- ต้องการให้ทุกคนยอมรับว่าตนเป็นผู้ใหญ่
- มีการรวมกลุ่มระหว่างเพื่อนสนิทในเพศเดียวกันในรูปแบบของแก๊ง และในระยะต่อมามักเริ่มมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม โดยจะมีสมาชิกต่างเพศเข้าร่วมกลุ่มด้วย

5.9 ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน
วัยรุ่นพยายามที่จะหาเพื่อนที่อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกน มีรสนิยมเหมือนกัน เพื่อที่จะได้เอาไว้คบหาสมาคมพูดคุยสังสรรค์กันกลุ่มของเด็กวัยรุ่นนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อความประพฤติและการแต่งกาย กริยาท่าทาง มีการพยายามเลียนแบบกันเพื่อให้เกิดเป็นสัญลักษณ์ประจำกลุ่มขึ้นแม้ว่าการกระทำบางอย่างที่ตนทำเพื่อความโก้เก๋และเพื่อให้เกิดจุดเด่นขึ้น จะขัดต่อสายตาของผู้ใหญ่ก็ตาม

5.10 ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนต่างเพศ
เด็กวัยรุ่นมักมีความกังวลใจและลำบากใจอย่างมาก ในการที่จะทำให้ตนเองสามารถเข้ากับเพื่อนต่างเพศของตนเองได้ ความสัมพันธ์ของเด็กวัยรุ่นกับเพื่อนต่างเพศนั้นมีทั้งในสภาพที่เป็นเพื่อนฝูงชอบพอกันและในด้านความสัมพันธ์ในฐานะจะร่วมชีวิตต่อไปในอนาคต สิ่งสำคัญคือ ไม่ควรห้ามไม่ให้เด็กหญิงชายคบค้าสมาคมกัน เพราะแทนที่เด็กจะเลิกคบกันกลับพยายามหาทางหลบซ่อนมาพบกันเองโดยมิให้ผู้ใหญ่ล่วงรู้ และความกดดันที่ถูกกีดกันอาจผลักดันให้เกิดความประพฤติไปในทางที่ผิดได้ ทางที่ดีผู้ใหญ่ควรสนับสนุนให้เด็กชายหญิงคบหากันเป็นลักษณะเพื่อนกันได้ภายในขอบเขต ซึ่งตามปกติผู้ใหญ่มักวิตกกังวลว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควรแต่เราไม่ควรถือว่าความรักในระยะวันรุ่นนั้นเป็นสิ่งที่จริงจังนัก เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กวัยรุ่นมักเกิดความเพ้อฝันในเรื่องความรักที่ได้รับกระตุ้นจากหนังสือ ภาพยนตร์ สังคมซึ่งเกิดขึ้นในเพื่อนฝูงเมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้ออกมา สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดในขณะนั้นคือ ต้องการได้เป็นที่รัก โดยจะเป็นที่รักของใครหรือจะรักใครนั้นไม่สำคัญขอเพียงแต่ให้ได้มีความรักเท่านั้น เพราะคิดว่าจะทำให้ชีวิตของตนเองสมบูรณ์ยิ่งขึ้นเหมือนกับคนอื่น วัยรุ่นมักมีความหลงใหลใฝ่ฝันบุคคลที่มีความเก่ง และมีชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ยั่งยืนพอนาน ๆ เข้าเมื่อมีความคิดเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ก็จะรู้ว่าสิ่งที่ตนเคยคิดและปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่เหลวไหลเหลือเกิน
ในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศเราสามารถเป็นสิ่งที่เหลวไหลเหลือเกิน
1. วัยทารกและวัยเด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายต่างสนใจตัวเอง
2. วัยเด็กตอนต้นทั้งสองเพศเริ่มแสวงหาเพื่อนโดยไม่จำกันเพศ
3. เมื่ออายุประมาณ 8 ปี ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงต่างชอบเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน
4. เมื่ออายุประมาณ 10-12 ปี เด็กชายและเด็กหญิงเริ่มจับกลุ่มภายในเพศเดียวกันและแสดงความเป็นอริกันเพศตรงข้าม
5. เมื่ออายุประมาณ 13-14 ปี เด็กหญิงเริ่มสนใจเด็กชายพยายามทำทุกอย่างที่จะเรียกร้องความสนใจจากเด็กชาย แต่เด็กชายยังเฉยอยู่
6. เมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี เด็กชายเริ่มสนใจเด็กหญิงขึ้นบ้างและบางคนเริ่มแยกตัวไปสนิทสนมกับเพื่อนตรงข้าม
7. อายุประมาณ 16-17 ปี หรือมากกว่า เด็กชายและหญิงเริ่มจะจับกันเป็นคู่ ๆ

5.11 พัฒนาการทางเพศ
เนื่องจากฮอร์โมนทางเพศทำงานมากขึ้นในวันรุ่น อิทธิพลของฮอร์โมนทางเพศนี้มีผลต่อลักษณะทางกายวิภาคของร่างกายทั่วไป และลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (Secondary Sex Characteristic) และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ กระตุ้นจิตใจให้เกิดแรงขับดันทางเพศ (Sex Drive) ให้สูงขึ้น (วิทยา นาควัชระ, 2540 อ้างถึงใน ปิยวร กุมภิวัตน์, 2546)
จะเห็นได้ว่าในวัยรุ่นมีพลังงานมากทั้งใน
1. พลังงานฝ่ายกาย
2. พลังงานทางจิต
3. พลังงานทางเพศ
พลังงานทางเพศที่มีมากขึ้นมานั้นจะทำให้วัยรุ่นเริ่มสนใจกิจกรรมหรือปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางเพศของตนเองมากขึ้น เช่น การเกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ การมีประจำเดือน และอาจทดลองทำพฤติกรรมทางเพศด้วยความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น ตื่นเต้น กลัว ๆ กล้า และเพื่อเป็นการปลดปล่อยพลังงานทางเพศที่มีอยู่มาก ที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ได้แก่ การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง
เทคโนโลยีการสื่อสาร ม.ราชภัฏอุดรธานี 2552