วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การรู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสาร 1212 Hot Line ICT
















สามารถดูข้อมูลการรู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารของเด็กจังหวัดหนองบัวลำภูได้ที่นี่

http://www.youtube.com/watch?v=atnDG-yegqM

http://www.youtube.com/watch?v=qARJeSpgDpY
การรู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารของเด็กไทย
ก.ไอซีที เปิดสายด่วน 1212 รับแจ้งเหตุเว็บไซต์ไม่เหมาะสม
Thursday, 7 May 2009 09:54 --
โทรคมนาคม สื่อสาร
กรุงเทพฯ--7 พ.ค.--ก.ไอซีที
ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่าภายหลังจากกระทรวงไอซีทีได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Security Operation Center : ISOC เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยงานต่างๆ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ในการป้องกันและปราบปรามการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ผิดกฎหมายและไม่เหมาะสมผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ ซึ่งศูนย์ ISOC นี้สามารถช่วยลดความรุนแรงหรือโอกาส ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยในประเทศ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมที่ดีในสังคมออนไลน์
โดยปัจจุบันกระทรวงฯ สามารถดำเนินการกับเว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูลไม่เหมาะสมต่างๆ ผ่านทางศูนย์ ISOC แล้วประมาณ 11,138 URL แบ่งเป็นเว็บไซต์ที่กระทบกับความมั่นคง 8,314 URL เว็บไซต์ที่เผยแพร่ซึ่งข้อมูลเข้าข่ายลามกอนาจาร 2,752 URL และเว็บไซต์เกมการ
พนัน 72 URL
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาครัฐจะพยายามดำเนินการค้นหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมผ่านช่องทางและวิธีการต่างๆ แต่ด้วยจำนวนบุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่จำนวนเว็บไซต์ไม่เหมาะสมมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การดำเนินการดังกล่าวยังไม่ได้ผลสัมฤทธิ์ที่น่าพอใจเท่าที่ควร ซึ่งวิธีการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการกับเว็บไซต์เหล่านั้นก็คือ การสร้างความร่วมมือกับภาคประชาชน โดยการรับฟังข้อมูลต่างๆ จากประชาชนที่มีเบาะแสเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว
“กระทรวงฯ จึงได้จัดตั้งโทรศัพท์สายด่วน 1212 จำนวน 5 คู่สาย เพื่อรับฟังเรื่องร้องเรียนจากภาคประชาชน โดยศูนย์ปฏิบัติการสายด่วน 1212 นี้จะตั้งอยู่ที่เดียวกับศูนย์ ISOC ซึ่งนอกจากสายด่วนแล้วกระทรวงฯ ยังจัดทำอีเมล์รับแจ้งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต คือ 1212@mict.mail.go.th อีกด้วย การดำเนินการดังกล่าวนอกจากจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างภาครัฐและประชาชนแล้วนั้น ยังจะทำให้ภาครัฐได้รับรู้ถึงข้อมูลบางอย่างที่บุคลากรภาครัฐอาจจะไม่สามารถดูได้อย่างทั่วถึง ดังนั้น กระทรวงฯ จึงต้องการประชาสัมพันธ์ช่องทางแจ้งเหตุทั้งสายด่วน 1212 และอีเมลล์ 1212@mict.mail.go.th นี้ให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วประเทศ รวมทั้งได้ขอความร่วมมือไปยังนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี ช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อที่กำกับดูแลด้วยอีกทางหนึ่ง” ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ กล่าว
สำหรับการดำเนินงานผ่านสายตรงดังกล่าวนั้น เมื่อประชาชนร้องเรียนเข้ามา หรือมีผู้แจ้งเบาะแสต่างๆ ทางเจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกไว้ แล้วแบ่งหมวดหมู่ตามภารกิจของศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต (Internet Security Operation Center : ISOC) คือ ความมั่นคง ศีลธรรมวัฒนธรรม และเกมการ
พนัน เมื่อได้รับข้อมูลแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการนำข้อมูลดังกล่าวไปประมวลผล เพื่อตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล แล้วจึงดำเนินการสกัดกั้นการเผยแพร่หรือตรวจสอบหาผู้กระทำความผิดหรือประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 วัน สำหรับเว็บไซต์ไม่เหมาะสมที่เข้าข่ายด้านความมั่นคงหรือมีความผิดชัดแจ้ง ส่วนในกรณีอื่นๆ ก็จะดำเนินการตามขั้นตอนการปิดกั้นซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 วัน

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

IMC @ MASTER UDRU



http://www.slideshare.net/soonthon100/d-t-a-c
นี่เป็นตัวอย่าง กรณีศึกษา Case Study การนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารไปใช้งาน

เมื่อเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญกับการตลาด อะไรจะเกิดขึ้น ติดตามค้นหาข้อมูล เพื่อไม่ให้ตัวเองตกเทรน (ไม่ใช่รถไฟนะเพราะเขาไม่วิ่งแล้วครับ)
เป็นข้อมูลเกี่ยวเมื่อ โฆษณา ปะทะกับ การส่งเสริมการขาย

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

งานสัมมนา เรื่อง รู้ให้เท่า ก้าวให้ทันเทคโนโลยีการสื่อสาร

ขอเชิญทุกท่านชมภาพการจัดสัมมนา เรื่อง รู้ให้เท่า ก้าวให้ทันเทคโนโลยีการสื่อสาร

โดยสุนทร พรหมวงศา จัดเมื่อ วันที่ 5 กันยายน 2552 ม.ราชภัฏอุดรธานี ได้ที่
http://s1010.photobucket.com/albums/af222/soonthon100/My%20family/Seminar/?action=view&current=5740972e.pbw&t=1252993564

ครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

โครงการสัมมนา เรื่อง รู้ให้เท่า ก้าวให้ทัน เทคโนโลยีการสื่อสาร




ชื่อโครงการ โครงการสัมมนา เรื่อง “รู้ให้เท่า ก้าวให้ทัน เทคโนโลยีการสื่อสาร”
Media & Communication Technology Literacy


1.หลักการและเหตุผล
ในสังคมที่อินเทอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทในชีวิตประจำวัน เนื้อหาความรู้สาธารณะ (open content) เปิดช่องทางให้ผู้เรียนรู้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่มีข้อจำกัด และผู้ให้ความรู้ เช่นโรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาคประชาชน หรือแม้แต่ครอบครัว ก็สามารถสรรหาข้อมูลและความรู้ให้ผู้เรียนได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น เดิมพ่อแม่จะซื้อหนังสือให้ลูกอ่าน แต่ปัจจุบันสามารถใช้ความรู้ฟรีอินเทอร์เน็ตมาแทนได้ หรือโรงเรียนที่แทนที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดก็เปลี่ยนเป็นการซื้อคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตและให้คำแนะนำและสนับสนุนให้เด็กใช้งานเพื่อหาข้อมูลอย่างถูกวิธีและได้ผล ตัวอย่างของเนื้อหาความรู้สาธารณะ (open content) ได้แก่ Wikipedia (สารานุกรมสาธารณะบนระบบอินเทอร์เน็ต) ซึ่งมีองค์ความรู้ภาษาไทยอยู่กว่าหนึ่งหมื่นเรื่อง ระบบฐานข้อมูลกลาง เช่นข้อมูลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ข้อมูลและสถิติทางเศรษฐกิจของหน่วยงานรัฐ ที่เปิดให้ใครก็ได้เข้าถึงและนำไปใช้อย่างเสรี การส่งเสริม Open Content มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้คนไทยรู้จัก Open Content และเข้าไปใช้งานแล้วยังต้องการสนับสนุนให้แหล่งข้อมูลและผู้มีความรู้สร้าง เผยแพร่ และพัฒนาเนื้อหา Open Content โดยการนำ Content มาพัฒนาการเรียนรู้มากกว่าการนำมาใช้งานในลักษณะการประกอบอาชีพ เช่น การที่เด็กและเยาวชนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเข้าถึงสารานุกรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่ตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่อง
เหตุผลสำคัญอีกด้านหนึ่งเทคโนโลยีการสื่อสารได้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้พรมแดน ซึ่งจะเห็นได้จาก ระบบอินเทอร์เน็ตปัจจุบันเปลี่ยนเป็นยุคของ Web 2.0 แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Blog, Hi5, Facebook, twitter และยังมีอีกหลายอย่างใน Web 2.0 ที่เราในฐานะผู้ใช้งานเทคโนโลยีการสื่อสารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษาเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสาร Communication Technology Literacy และพร้อมที่จะอยู่ในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ อย่างรู้เท่าทัน

2.วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการรู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อทางอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
2. เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการสื่อสารนำความรู้ด้านการรู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
3. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการรู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสาร
3.ขั้นตอนดำเนินการ

1. กำหนดกิจกรรมและงบประมาณ
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร
3. จัดกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนด
4. ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

4.ระยะเวลาดำเนินการ

วันที่ 5 กันยายน 2552 เวลา 9.00 – 12.00 น.

5.กิจกรรม

รับฟังการบรรยาย เรื่อง “รู้ให้เท่า ก้าวให้ทัน เทคโนโลยีการสื่อสาร” วิทยากรโดย
คุณสุนทร พรหมวงศา และ เรื่อง “เกมส์คอมพิวเตอร์ออนไลน์ ภัยแฝงสังคมไทย” วิทยากรโดย คุณจิตติพล ศุภเจียรพันธ์ บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

5.สถานที่ดำเนินการ

ห้อง 1601 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

6.งบประมาณ

จากเงินงบประมาณส่วนตัว ดังนี้
1. ค่าตอบแทน
-ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ท่าน = 1,000 บาท
2. ค่าวัสดุและค่าใช้สอย
-ค่าอาหาร น้ำชา กาแฟ เครื่องดื่ม = 300 บาท
-อื่นๆ = 200 บาท

รวมเงินทั้งสิ้น 1,500 บาท (หนึ่งพันห้าร้อยบาทถ้วน)
ใช้งบส่วนตัว


7.ประเมินผลโครงการ

1. นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปทุกคนมีความสนใจและความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมรับฟังสัมมนา
2. แบบสอบถามจากผู้เข้าฟังการสัมมนา

8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักศึกษาและผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสารแล้ว
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างดี
2. นักศึกษาและผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารและมีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีการสื่อสาร

9.ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายสุนทร พรหมวงศา และนายจิตติพล ศุภเจียรพันธ์ บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร ปี 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

10.ผู้เสนอโครงการ


(นายสุนทร พรหมวงศา)
บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร ปี 2
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

11.ผู้อนุมัติโครงการ



(ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด)
ประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


กำหนดการสัมมนา
เรื่อง “รู้ให้เท่า ก้าวให้ทัน เทคโนโลยีการสื่อสาร”
Media & Communication Technology Literacy
วันที่ 5 กันยายน 2552
ณ ห้อง 1601 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


เวลา กิจกรรม

09.00-09.15 น. ลงทะเบียน

09.15-09.30 น. พิธีเปิดการสัมมนา
โดย ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด
ประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร
ม.รภ.อุดรธานี

9.30-10.30 น. บรรยายเรื่อง “รู้ให้เท่า ก้าวให้ทัน เทคโนโลยีการสื่อสาร”
Media & Communication Technology Literacy
วิทยากรโดย คุณสุนทร พรหมวงศา

10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.45-11.45 น. บรรยายเรื่อง “เกมส์คอมพิวเตอร์ออนไลน์
ภัยแอบแฝงสังคมไทย”
วิทยากรโดย คุณจิตติพล ศุภเจียรพันธ์

11.45-12.00 น. ปิดการสัมมนา




วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทความงานวิจัย จาก Scholar.google.com ครับ

นี่เป็นตัวอย่างบาทความ และงานวิจัยที่ได้มาจาก Web Scholar.google.com ครับ
ลองหาดูข้อมูลเพิ่มเติมในลิงค์นี้ครับ
http://library.utcc.ac.th/onlinethesis/onlinethesis/9746775952/index.htm

รวมหนังสือ จาก Books.google ครับ

หนังสือเล่มที่ 1 ได้เขียนเกี่ยวกับปรมาจารย์ด้านสื่อสารมวลชนที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารต่างๆ ครับ
สามารถติดตามได้จาก ลิงค์ข้างล่างนี้ครับ
http://books.google.com/books?id=kBXO2iw4yKUC&printsec=frontcover&dq=Communication&hl=th&source=gbs_similarbooks_r&cad=2_1#PPP1,M1